แนะนำโรงเรียน

  • ประวัติความเป็นมา

โรงเรียนอามานะศักดิ์  เริ่มดำเนินการตั้งแต่  วันที่ 17  พฤษภาคม  2532  ได้รับอนุญาต  วันที่ 1 มิถุนายน 2533  โดยเริ่มตั้งแต่อนุบาลปีที่ 1 และขยายขึ้นปีละชั้นในนาม  โรงเรียนอนุบาลอามานะศักดิ์  จนถึง ปีการศึกษา 2536  ได้ขยายถึงระดับประถมศึกษาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอามานะศักดิ์

โรงเรียนอานะศักดิ์  เกิดมาด้วยจิตสำนึกของพี่น้องมุสลิมทุกตระกูล ทุกสาขาอาชีพ และทุก

ระดับการศึกษา ด้วยจิตสำนึกที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมมุสลิม  ซึ่งต่างมองเห็นตรงกันว่าการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ  ศาสนา และวัฒนธรรมต้องเริ่มต้นที่การศึกษา และการศึกษาที่จะสร้างคนให้มีคุณภาพนั้นจะต้องมีทั้งวิชาการและศาสนา  จึงได้ร่วมกันลงทุน  ซื้อที่ดิน 2 1/2 ไร่  ณ หมู่  ๗  ต.บานา อ.เมือง  จ.ปัตตานี และสร้างโรงเรียนอนุบาลอามานะศักดิ์ ด้วยทุนระยะเริ่มต้นเพียง       1,000,000 บาทมีนักเรียนรุ่นแรกเพียง 24

คน  ครู 6 คน และได้ขอให้ข้าราชการบำนาญ 2 คน คืออาจารย์กาญจนา เด่นอุดม หอมชื่น  และอาจารย์รพีพรรณ  อับดุลบุตร ช่วยกันบริหารโรงเรียน

ในปี 2542  ผู้รับใบอนุญาต นางกาญจนา  เด่นอุดม  หอมชื่น ได้จัดส่งโครงการขอทุนสนับสนุนโรงเรียนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม (IDB)  ในวันที่ 14 กันยายน  2542ดร.สุไลมาน เอม  ซัมซัลดีน แจ้งว่าคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการศึกษาธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม ได้ลงมติอนุมัติเงินช่วยเหลืออาคาร  1  หลังพร้อมโต๊ะ  เก้าอี้  และครุภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นเงิน  US182,000 และจะมาเยี่ยมโรงเรียน ในวันที่ 9 ตุลาคม  2542ซึ่งในวันที่คณะผู้บริหารกองทุนจาก IDB ได้มาเยี่ยมโรงเรียนอามานะศักดิ์ถือเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ ของชาวโรงเรียนเอกชนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้หลั่งไหลมาต้อนรับท่านที่โรงเรียนอามานะศักดิ์อย่างคับคั่ง

ปี  2544  อาคารเรียน  IDB  ซึ่งได้รับสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม  สร้างเสร็จเรียบร้อย ได้อาคาร 3 ชั้น ชั้นล่างโล่งใช้เป็นห้องเอนกประสงค์ ชั้น 2 และ 3 เป็นห้องเรียน และห้องบริหาร จำนวนทั้งสิ้น 10 ห้อง  และได้ย้ายนักเรียนชั้นประถม 4-6  เข้ามาเรียนเป็นปีแรก  ณ  เลขที่ 28/4  หมู่ 8    ถนนยะรัง ซอย 3 ต.ตะลุโบะ อ.เมือง จ.ปัตตานี  พร้อมกับขออนุญาตย้ายโรงเรียนจากที่เดิมมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน

ปี 2546  ได้ยืมเงินจากสหกรณ์อิบนูอัฟฟาน จำกัด  จำนวน3,000,000 บาท   อาจารย์จิตรา  นุชมี  จากกรมการศึกษานอกโรงเรียนให้ยืม 1,000,000 บาท  คณะกรรมการมูลนิธิฯ ครู และผู้ปกครอง ร่วมบริจาคส่วนหนึ่ง และใช้เงินรายได้จากโรงเรียนอีกส่วนหนึ่ง สร้างอาคารเรียนโดยผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการศึกษาโรงเรียนอามานะศักดิ์  ให้ชื่อว่าอาคารเราะห์มัต เป็นอาคาร 2 ชั้น มีจำนวน 20 ห้อง   จึงได้ย้ายนักเรียนระดับประถม 1-3 มาเรียนที่เดียวกับ ป.4-6 ต่อมาในปลายปี  2546  วันที่  23-25 ธันวาคม 2546

ได้รับการประเมิน มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  จาก สมศ.  โดยบริษัทจิตโชติการประเมิน  ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี 6 มาตรฐาน และพอใช้ 7 มาตรฐาน  ซึ่งยังต้องมีการพัฒนาต่อไป

ปี 2547 ผู้รับใบอนุญาตได้ดำเนินการกู้ยืมเงินจาก ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการศึกษาโรงเรียนอามานะศักดิ์  จำนวน  9,000,000 บาท ( เก้าล้านบาทถ้วน)  เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนอนุบาล  จำนวน 26  ห้อง ซึ่งรวมทั้งห้องเรียน  ห้องสำนักงานมูลนิธิฯ และห้อง

เอนกประสงค์ แล้วจึงย้ายนักเรียนชั้นอนุบาลทั้งหมดมาเรียนร่วมกับชั้นประถม ในวันที่ 1 พฤศจิกายน  2548 โดยเรียกชื่อว่า อาคารสรีฟาฏอนี

 

โรงเรียนอามานะศักดิ์  มีบริเวณที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน  เนื่องจากตั้งอยู่ไม่ห่างจากใจกลางเมืองปัตตานี  มีทุ่งนาล้อมรอบ และมีคลองสาธารณะอยู่ด้านหลัง  ซึ่งเหมาะที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ แต่ด้วยงบประมาณไม่เพียงพอ  เนื่องจากต้องชำระเงินกู้ซึ่งกู้มาสร้างอาคารเราะห์มัต และอาคารสรีฟาฏอนี  ปีหนึ่งเป็นจำนวนสองล้านบาทเศษ  ทำให้มีผลต่อการจัดหาสื่อการเรียนการสอนมาพัฒนาการเรียน  และการจัด

ในปี พ.ศ. 2548   คณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนทุกประเภทในจังหวัดปัตตานี  ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาโรงเรียนเอกชน ใช้ชื่อว่า “สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารสถานศึกษาเอกชนปัตตานี” โดยลงมติเลือกโรงเรียนอามานะศักดิ์ เป็นสำนักงานของสมาคม และผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอามานะศักดิ์ ได้รับเลือกเป็น อุปนายกของสมาคม

ในปี พ.ศ. 2551 การบริหารโรงเรียนอามานะศักดิ์  มีโครงสร้างชัดเจน และปฏิบัติตามนโยบายอย่างจริงจัง  ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  มีการกระจายอำนาจ และให้โอกาสครูทุกคนพัฒนาตนเองเพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารโดยข้อบังคับของโรงเรียน กำหนดให้ผู้บริหาร มีวาระ 4ปี  ตั้งแต่ปีการศึกษา  2551 ผู้อำนวยการ (เป็นตำแหน่งที่เลื่อนตำแหน่งจากครูใหญ่) คือนายสาเหะอับดุลเลาะ  อัลยุฟรี  ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนอามานะศักดิ์ท่านหนึ่งท่านเกษียณอายุราชการโดยการลาออกมาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เป็นผู้อำนวยการตามข้อบังคับดังกล่าวต่อจาก นางฟาตีหม๊ะ  แวอูมา ต่อมาเมื่อหมดวาระของท่านในปีการศึกษา 2554 คณะกรรมการทุกฝ่ายได้มีมติให้นางฟาตีหม๊ะ แวอูมา เป็นผู้อำนวยการอีกวาระหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2555  ได้รับงบประมาณสนับสนุนสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น  16 ห้องเรียน  จากธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม ประเทศซาอุดิอาระเบียอีกหลังหนึ่ง ซึ่งได้ใช้เป็นห้องสำนักงาน ห้อง ปฏิบัติการด้านวิชาการ และห้องเรียนของนักเรียนระดับประถม 5-6  ในปีการศึกษา 2556ได้ขออนุญาตขยายหลักสูตรและชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเรียนที่อาคารเรียน IDB หลังแรก   มีนักเรียนรุ่นแรกจำนวน  13  คน

ในปี พ.ศ.2556 ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม เมื่อวันที่ 4 ถึง 6 พฤศจิกายน2556  ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา  คะแนนรวมระดับปฐมวัย 87.78 ระดับคุณภาพดี และคะแนนรวมระดับขั้นพื้นฐาน 82.47 ระดับคุณภาพดี

ในด้านคุณภาพของนักเรียนที่ประจักษ์ได้แก่ ด้านกีฬา ซึ่งนักกีฬาวิ่ง 31 ขา ของโรงเรียนสามารถทำเวลาได้อย่างดีจนได้ตำแหน่งชนะเลิศของภาคใต้ 3 ปีซ้อน ด้านการเรียนนักเรียนสามารถสอบแข่งขันชิงทุนกระทรวงศึกษาธิการของประเทศมาเลเซียทุกปี จำนวนผู้ที่ได้รับทุนแต่ละปีมากกว่าโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้และนักเรียนสามารถสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทุกปีๆ ละหลายคน ในปีการศึกษา 2557 เมื่อมีการจัดสอบแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติระดับจังหวัด นักเรียนโรงเรียนอามานะศักดิ์ สามารถสอบได้รางวัลเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดงรวมทั้งสิ้น 30คน และเข้าร่วมแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติระดับประเทศ ได้รางวัลชมเชย 2 รางวัล และนักเรียนระดับมัธยมสามารถสอบจนได้ทุนไปเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศสิงคโปร์ด้วย 1 คน

ในปีการศึกษา 2558  นักเรียนชั้นประถมปลาย ป4-ป.6 ได้สมัครสอบคณิตศาสตร์และวิทยา

ศาสตร์นานาชาติอีกครั้ง ผลการสอบนักเรียนสามารถแข่งขันได้เหรียญทอง  เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จำนวน 68  คน และนักเรียนระดับมัธยมตอนต้น สอบแข่งขันวิชาคณิตศาสตร์นานาชาติได้เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง อีก 10 คน ผลการแข่งขัน ดังกล่าวแสดงถึงการพัฒนาด้านวิชาการที่เพิ่มคุณภาพมากขึ้นตลอดเวลา

ในปีการศึกษา 2559 นักเรียนชั้นประถมปลาย ป4-ป.6 ได้สมัครสอบคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติอีกครั้ง ผลการสอบนักเรียนสามารถแข่งขันได้เหรียญทอง  เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จำนวน47 คน และนักเรียนระดับมัธยมตอนต้น สอบแข่งขันวิชาคณิตศาสตร์นานาชาติได้เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง อีก 22 คน  นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสอบเข้าเรียนโรงเรียนสาธิต จำนวน 6 คน สอบเข้าโรงเรียนจุฬาภรณ์ จ.สตูล  ด้านกีฬา  นักกีฬาวิ่ง ๓๑ ขา ของโรงเรียนสามารถทำเวลาอย่างดีจนได้ตำแหน่งชนะเลิศของภาคใต้  5  ปีซ้อน และรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ     ตัวแทนนักเรียนระดับมัธยมสามารถ

คว้ารางวัลชมเชยระดับประเทศ ในการแข่งขันจัดทำนิตยสารอีเล็กทรอนิกส์ ระดับมัธยมศึกษาในหัวข้อเรื่อง เกลือหวาน

ในปีการศึกษา 2561  นักเรียนชั้นประถม ป.6 สามารถทำข้อทดสอบ I-NET ได้ 100 คะแนน จำนวน         3 คน และสามารถสอบเข้าเรียนโรงเรียนสาธิต จำนวน 3 คน  นักเรียน ป.4 เข้าร่วมโครงการทดสอบวัดความรู้ GENERAL English PROFICIENCY ได้อันดับที่ 1 ของภาคใต้  เข้าร่วมโครงการจัดสอบPre Onet ระดับภูมิภาค ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านเข้ารอบชิงทุนการศึกษาระดับภูมิภาค จำนวน 22 คน ด้านกีฬา  นักกีฬาวิ่ง ๓๑ ขา ของโรงเรียนสามารถทำเวลาอย่างดีจนได้ตำแหน่งชนะเลิศของภาคใต้  6  ปีซ้อน และรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 5 ระดับประเทศ   ด้วยสถิติ 8.93 วินาที ปีที่ 14

ปีการศึกษา 2563  ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการโรงเรียนอามานะศักดิ์ คือ          นายจักรกฤช  วรสูตร   เมื่อวันที่ 9  ตุลาคม  2563

ปีการศึกษา 2565   วันที่ 7 มิถุนายน 2565  ได้รับมอบอาคารบริการน้ำดื่มระบบ RO อัตราการผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง  ดำเนินการโอย  นพค.44  สนภ.นทพ. ปีงบประมาณ 2565

 

  • วิสัยทัศน์ ภายในปี 2568 โรงเรียนอามานะศักดิ์ มุ่งสู่มาตรฐานสากลตาม

    หลักการอิสลาม

  • พันธกิจ
  1. จัดการประชุม สัมมนาและศึกษาดูงานของคณะกรรมการทุกฝ่าย

พัฒนาผู้บริหารทุกระดับอย่างต่อเนื่องและสร้างภาวะผู้นำแก่ครูให้สามารถก้าวสู่  การเป็นผู้บริหารในอนาคต

  1. สร้าง ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยี
  2. ส่งเสริม และพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรทุกฝ่ายสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
  3. พัฒนาหลักสูตรโรงเรียนอามานะศักดิ์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ควบคู่กับหลักสูตรอิสลามศึกษาพุทธศักราช ๒๕๔๖
  4. เน้นการเรียนกุรอาน และอัลฮาดิษ ให้สามารถนำความรู้ในอัลกุรอาน และอัลฮาดิษ ไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
  5. เน้นผู้เรียนให้มีทักษะขั้นพื้นฐานด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
  6. เน้นการจัดการเรียนการสอนบูรณาการในรูปแบบสะเต็มศึกษา
  7. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม เอกลักษณ์ของมุสลิม ด้านสุขภาพ และการมี จิตสาธารณะ
  8. ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ
  9. สร้างเครือข่ายชุมชน หน่วยงาน และระหว่างประเทศ
ออกแบบโดย dsite.in.th